Skip Navigation Links
:: นโยบายคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ::
นโยบายในการบริหารงานคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี จะเน้นพัฒนางานหลัก 5
ด้าน 1. ด้านการผลิตบัณฑิต
  1.1 การจัดการเรียนการสอน
1. ผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้และพึงประสงค์ตามตลาดแรงงาน
2. พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร รายวิชาและเนื้อหา ให้มีความทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลง
3. พัฒนาประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนให้ดีขึ้น
4. ส่งเสริมศักยภาพของคณาจารย์ โดยการเพิ่มคุณวุฒิหรือการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
5. กำหนดมาตรการในการเพิ่มจำนวนนักศึกษาในการศึกษาต่อทั้งระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา
6. พัฒนาห้องสมุดให้ทันสมัยและน่าสนใจสำหรับผู้ใช้บริการ
  1.2 กิจกรรมพัฒนานักศึกษา
    1. พัฒนานักศึกษา ให้บรรลุผลการเรียนรู้ 5 ด้าน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
2. จัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะสำหรับนักศึกษา 
3. ส่งเสริมและสนับสนุนความเป็นเลิศทางทักษะทางด้านสัตวศาสตร์ 
4. สร้างจิตอาสา โดยจัดกิจกรรมอาสาพัฒนาของนักศึกษาเพื่อบริการชุมชนเป้าหมาย
  1.3 การสร้างเครือข่าย
    1. เชื่อมสัมพันธ์เครือข่ายการเรียนการสอนด้านสัตวศาสตร์ทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ เช่น 
    - โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาเพื่อฝึกงานในต่างประเทศ
    - ภาคีเครือข่ายสัตวศาสตร์แห่งประเทศไทย
    - เครือข่ายสัตวศาสตร์ในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANAS) 
2. พัฒนาเครือข่ายศิษย์เก่าสัมพันธ์ ผ่านทางชมรมศิษย์เก่าสัตวศาสตร์ และช่องทางอื่นๆ รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลศิษย์เก่า 
ด้าน 2. ด้านการวิจัย
  2.1 การดำเนินการด้านการวิจัย
1. มุ่งเน้นงานวิจัย 3 ประเด็นหลักคือไก่พื้นเมือง โคเนื้อ และสิ่งแวดล้อมในฟาร์ม โดยให้มีความสอดคล้องกับ Roadmap 15 ปี  ของมหาวิทยาลัย
    คือ การผลิตอาหารปลอดภัยด้วยวิธีสะอาด โดยคำนึงถึงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม (organic/ green/ eco university)
2. พัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่
3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์จัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอเงินอุดหนุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก
4. ส่งเสริมการทำวิจัยสถาบันของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ
5. สนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิชาการในวารสาร/ ที่ประชุมระดับชาติและระดับนานาชาติ
6. สร้างทีมวิจัยและห้องปฏิบัติการเฉพาะทาง เพื่อวิจัยในเชิงลึก และประยุกต์ใช้ในชุมชนเป้าหมาย
7. แสวงหาแหล่งทุน เพื่อพัฒนาห้องปฏิบัติการ
ด้าน 3. ด้านบริการวิชาการ
  3.1 การดำเนินการด้านบริการวิชาการ
1. กำหนดชุมชนเป้าหมายสำหรับการให้บริการทางวิชาการสู่สังคม
2. พัฒนาศูนย์เรียนรู้ทางด้านสัตวศาสตร์แบบครบวงจร
3. พัฒนาฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงงานแปรรูปและห้องปฏิบัติการให้ได้มาตรฐานและเป็นแหล่งเรียนรู้
4. สนับสนุนและสนองงานในโครงการพระราชดำริ
5. พัฒนาคลินิกดูแลและรักษาสัตว์
ด้าน 4. ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและรักษาสิ่งแวดล้อม
  4.1 การดำเนินการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและรักษาสิ่งแวดล้อม
1. ส่งเสริมบุคลากรและนักศึกษาในการร่วมกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม
2. รณรงค์การรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
3. รณรงค์ปลูกจิตสำนึกและความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติตนเองและต่อสังคม โดยคำนึงถึงระบบนิเวศวิทยา
4. กำกับ ดูแล การบำบัดและการจัดการของเสียจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์และโรงงานแปรรูป รณรงค์เรื่องการอนุรักษ์พลังงาน
ด้าน 5. ด้านบริหารจัดการ
  5.1 การดำเนินการด้านบริหารจัดการ
 1. วางแผนเชิงยุทธศาสตร์อย่างมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคณะฯ มีชื่อเสียงระดับชาติและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัย เช่น จัดทำแผนพัฒนาคณะทั้งระยะสั้น
    และ ระยะยาว แผนพัฒนาบุคลากร ระยะ 4 ปี ผังกายภาพเพื่อรองรับการเป็น Eco University ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
 2. บริหารด้วยระบบการทำงานเป็นทีม โดยหลักธรรมาภิบาล เพื่อพัฒนาองค์กรทั้งระบบ และก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด โดยมุ่งสร้างนักบริหารรุ่นใหม่
 3. บริหารจัดการตามวงจรคุณภาพ (PDCA) ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
 4. บริหารจัดการเชิงบูรณาการ ภายใต้ข้อจำกัดด้านทรัพยากรบุคคลและงบประมาณ
 5. สร้างสรรค์วัฒนธรรมองค์กรที่ดี ก่อให้เกิดความสามัคคี
 6. สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานของบุคลากรในคณะ ทั้งลูกจ้าง คนงานประจำ บุคลากรและคณาจารย์
 7. เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
 8. วางแผนกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาและระดมทรัพยากรต่างๆ ของคณะ ในการพัฒนาวิสาหกิจและแสวงหารายได้